ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้กำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้
๑. มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคมของสถานประกอบการของเอกชน ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ, ห้างสรรพสินค้า , สถานประกอบการค้าปลีก , ค้าส่งขนาดใหญ่ , โรงงานทุกประเภท ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการ ดังนี้
๑.๑ งดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของลูกจ้างและนายจ้าง จำนวนเกินกว่า ๒๐ คนขึ้นไป เช่น จัดประชุม , ฝึกอบรม , สัมมนา , เลี้ยงฉลองหรือสังสรรค์ และให้ปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ สำหรับสถานที่ราชการ , สถานที่ทำงานเอกชน และสถานที่ประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๓
๑.๒ กรณีมีการจัดจำหน่ายอาหารในสถานที่ข้างต้น ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) กำหนดจุดยืนเข้าแถวซื้ออาหาร และติดสัญลักษณ์บนพื้นด้วยสติกเกอร์หรือกระดาษ ให้ห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
(๒) ให้ผู้จำหน่ายอาหารหรือผู้ประกอบการอาหาร สวมใส่อุปกรณ์ให้ถูกสุขลักษณะ และสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือผ้าปิดปากปิดจมูก ป้องกันเชื้อโรคตลอดการจำหน่ายอาหารหรือปรุงอาหาร
(๓) ให้เจ้าของสถานที่จัดจำหน่ายอาหารข้างต้น จัดให้มีแอลกอฮอล์ เจล หรือสบู่ล้างมือ และจัดโต๊ะสำหรับ รับประทานอาหารให้ห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
๑.๓ กรณีการเข้าแถวเพื่อซื้อสินค้า / อาหาร และชำระสินค้า / อาหาร ให้กำหนดจุดยืน และติดสัญลักษณ์บนพื้นด้วยสติกเกอร์หรือกระดาษ ห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ เมตร และให้พนักงานเก็บเงินสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
๑.๔ กรณีห้างสรรพสินค้า , สถานประกอบการค้าปลีก , ค้าส่งขนาดใหญ่ และร้านสะดวกซื้อ ให้จัดทำป้าย ประชาสัมพันธ์ ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร โดยใช้ขนาดตัวอักษรไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้ผู้เข้ารับบริการ เว้นระยะห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ เมตร และสวมใส่หน้ากากอนามัย กรณีไม่มีหน้ากากอนามัย ให้ปรับใช้ผ้าชนิดใดก็ได้ สำหรับคาดใบหน้า เพื่อปิดจมูกและปากแทน
๑.๕ กรณีร้านเสริมสวย และร้านตัดผม ให้ผู้ประกอบการสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือใช้หน้ากากผ้าปิดปากปิดจมูกตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป หากไม่อาจดำเนินการได้ทัน ขอให้ชี้แจงเหตุผล เพื่อขออนุมัติขยายเวลาต่อนายอำเภอท้องที่ ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรการข้อนี้ ถือว่ามีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่ง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคมในพื้นที่ตลาดสด / ตลาดนัด ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการ ดังนี้
๒.๑ ให้ผู้จัดตลาดจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร โดยใช้ขนาดตัวอักษรไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้ผู้ค้า และผู้ซื้อสินค้า เว้นระยะห่างกันไม่ น้อยกว่า ๑ เมตร และสวมใส่หน้ากากอนามัย กรณีไม่มีหน้ากากอนามัย ให้ปรับใช้ผ้าชนิดใดก็ได้ สำหรับคาดใบหน้า เพื่อปิดจมูกและปากแทน
๒.๒ ให้ผู้ค้า และผู้ซื้อสินค้า สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่จำหน่ายสินค้าหรือซื้อสินค้า กรณีไม่มีหน้ากากอนามัย ให้ปรับใช้ผ้าชนิดใดก็ได้ สำหรับคาดใบหน้า เพื่อปิดจมูกและปากแทน
๒.๓ กรณีการเข้าแถวเพื่อซื้อสินค้า /อาหาร และชำระสินค้า /อาหาร ให้ผู้จัดตลาดกำหนดจุดยืน และติดสัญลักษณ์บนพื้นด้วยสติกเกอร์หรือกระดาษ ห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ เมตร
๒.๔ กรณีมีการจัดจำหน่ายอาหารในสถานที่ข้างต้น ให้ดำเนินการ ดังนี้
๓. มาตรการป้องกันสำหรับผู้ให้บริการการขนส่งสาธารณะ
๓.๑ ให้ผู้ให้บริการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารทั้งภาครัฐและเอกชน ปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ สำหรับผู้ให้บริการ การขนส่งสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๓
๓.๒ ให้ผู้ให้บริการคมนาคมขนส่งผู้โดยสาร ตามประกาศกรมอนามัยในข้อ ๓.๑ ดำเนินการทำความสะอาดสถานีขนส่งผู้โดยสารทุก ๒ ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
๓.๓ ให้ผู้ขับขี่รถสาธารณะทุกประเภท เช่น รถโดยสารสาธารณะ ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง , รถตู้โดยสารสาธารณะ ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง , รถยนต์สามล้อสาธารณะ (รถตุ๊ก ๆ ) , รถจักรยานยนต์สาธารณะ , ผู้ขับเรือโดยสารและเรือรับจ้างทุกชนิด รวมถึงผู้ปฏิบัติงาน ต้องดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด มีการป้องกันตนเอง โดยล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือแอลกอฮอล์ เจล และสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
๓.๔ ให้ผู้ให้บริการคมนาคมขนส่งผู้โดยสาร ตามประกาศกรมอนามัยในข้อ ๓.๑ ทำความสะอาดยานพาหนะ โดยใช้น้ำผงซักฟอกหรือน้ำยา ทำความสะอาดในจุดที่มีการสัมผัสร่วม เช่น ราวจับ , บริเวณประตู , ที่จับเหนือหัวผู้โดยสาร , เบาะนั่งหรือพนักพิงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง , ที่พักแขน , ถาดรองวางอาหาร , ปุ่มปรับระดับเบาะ , ที่จับประตูห้องน้ำ เป็นต้น และในกรณีเป็นรถโดยสารสาธารณะ ให้เปิดหน้าต่าง เพื่อถ่ายเทหรือระบายอากาศภายในรถก่อนและหลังการให้บริการ
๓.๕ ให้ขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สั่งการและควบคุมให้ผู้ให้บริการคมนาคมขนส่งผู้โดยสาร ทั้งภาครัฐและเอกชน ปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัยในข้อ ๓.๑ โดยเคร่งครัด
หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรการข้อนี้ ถือว่ามีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่ง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๔. มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคมอื่น ๆ
๔.๑ ห้ามจัดงานฉลองในวาระต่าง ๆ ที่มีคนมารวมตัวกันเกินกว่า ๒๐ คน เช่น งานวันคล้ายวันเกิด , งานครบรอบกิจการ , งานฉลองแต่งงาน , งานฉลองงานบวช , งานสมโภชต่าง ๆ เป็นต้นไป ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป หากไม่อาจดำเนินการได้ ขอให้ชี้แจงเหตุผล เพื่อขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
๔.๒ กรณีงานฟังสวดพระอภิธรรมศพ เฉพาะฝ่ายฆราวาส ให้เจ้าภาพจัดเก้าอี้ให้มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า ๑ เมตร และให้ผู้ร่วมงานสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือผ้าปิดปากปิดจมูกด้วย หากไม่อาจดำเนินการได้ ขอให้ชี้แจงเหตุผล เพื่อขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
๔.๓ กรณีกำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน , แพทย์ประจำตำบล , สารวัตรกำนัน , ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน , นายกเทศมนตรี , นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ จัดงานฉลองตามข้อ ๔.๑ ถือเป็นการกระทำความผิดต่อหน้าที่ ในฐานะเจ้าพนักงานและเป็นความผิดทางวินัย ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
๔.๔ ข้าราชการ , ลูกจ้าง ตลอดจนพนักงานรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ นอกจากข้อ ๔.๓ หากฝ่าฝืนตามข้อ ๔.๑ ถือว่ามีความผิดทางวินัย ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจ้างงานตามคำสั่งนี้ ให้ติดต่อที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดฉะเชิงเทรา หมายเลขโทรศัพท์ ๐ - ๓๘๕๑ - ๔๘๔๒ และ ๐๘ - ๘๒๐๒ - ๑๒๖๕