ท่าข้ามเมืองน่าอยู่ พัฒนาสู่ EEC  
เมนูเทศบาล
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์เทศบาล
download แบบฟอร์มเทศบาล
วีดีทัศน์เทศบาลตำบลท่าข้าม
เอกสารประชาสัมพันธ์
ศูนย์ดำรงธรรม
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
ข้อมูลการติดต่อ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประกาศต่างๆ
Social Network
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
แผนดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานฯ รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
คู่มือหรือมาตรฐานการปฎิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง หรือจัดหาพัสดุประจำปี
นโยบายหรือแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แนวปฏิบัติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จาการปฏิบัติหน้าที่
การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามฯการป้องกันการทุจริต รอบ ๖ เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสฯ
เทศบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายทั่วไป
การประชุมสภาเทศบาลตำบลท่าข้าม
มาตรการการวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงการทุจริตของหน่วยงาน
ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหน่วยงาน ชมเชยบุคคลต้นแบบด้านคุณธรร
คำสั่งด้านการบริหารงานบุคคล
รายงานการตรวจสอบการเงิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
คำสั่งจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารและแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฯ
แผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะผู้บริหาร
ฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติ
บุคลากรในเทศบาล
สำนักปลัดเทศบาล
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
กองสวัสดิการสังคม
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
ภายในเว็บ Google
แบบสำรวจความคิดเห็น
ผลงานที่ผ่านมาของเทศบาลตำบลท่าข้าม ท่านพอใจในด้านใด
สถานที่ท่องเที่ยว
งานประเพณี
สังคมสงเคราะห์
ส่งเสริมการศึกษา
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ดูผลโหวด
สถิติผู้เยี่ยมชม
กำลังออนไลน์13คน
ผู้ชมวันนี้99คน
ผู้ชมเมื่อวาน496คน
ผู้ชมเดือนนี้7883คน
ผู้ชมเดือนก่อน29258คน
ผู้ชมทั้งสิ้น3341392คน

ข้อมูลเกียวกับอาเซียน

อาเซียน+3 และอาเซียน+6

     อาเซียน+3 คือมีประเทศเพิ่มมา 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และรวม 10ประเทศอาเซียนด้วยโดยแรกมาเลเซียอยากได้สามประเทศนี้มาร่วมกลุ่มด้าน เศรษฐกิจเพื่อถ่วงดุลอิทธิพล ของอเมริกา แต่ถูกญี่ปุ่นกับอเมริกาคัดค้าน แต่ก็ยังมีการประชุมอยู่
      อาเซียน+6 คือมีจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งทั้ง 6 ประเทศที่กล่าวมาไม่ได้อยู่ในกลุ่มสมาชิกของอาเซียน สำหรับญี่ปุ่น อาเซียนกำลังสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสร้างเขตการค้าเสรีใน บางส่วนที่จะดำเนินการให้สำเร็จในทันทีที่เป็นไปได้และภายในสิบปี ที่สำคัญกว่านั้นคือ อาเซียนอาจทำให้การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม (ซึ่งคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีน) กลายเป็นการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit) และสร้างเขตการค้าเสรีเอเซียตะวันออกซึ่งมีผู้บริโภค 2 พันล้านคน อย่างช้า ๆ

กฎบัตรอาเซียน

            กฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN Charter เรียกง่าย ๆ ก็คือ ธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมาย และโครง สร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ใหญ่ ในปี พ.ศ.2558 ที่ทั้ง 10 ประเทศจะจับมือกันขับเคลื่อนเพื่อเป็นประชาคมอาเซียน  

         อย่างไรก็ตาม กฎบัตรอาเซียนดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมี ผลบังคับใช้

 

ประชาคมอาเซียน

        ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
 
         ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)

         ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)

         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

 1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)

           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ

          1.การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการ ประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

          2.ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบ คลุมความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติ เพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อ ต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

          3.การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น  กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-AEC) 

          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community  Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ 4 ด้าน คือ

         1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

         2.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

         3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

         4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้ อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) 

          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพ ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

      1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

      2.การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

      3.สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

      4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

      5.การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

      6.การลดช่องว่างทางการพัฒนา

          ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

คำขวัญอาเซียน

          The motto of ASEAN is "One Vision, One Identity, One Community."

         คำขวัญอาเซียน "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม"

 

เพลงประจำอาเซียน
 
           "The ASEAN Way"

           เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนอง และ เรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์  2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


กำลังแสดงหน้าที่ « Previous 4/7 Next »